logo-jauto
หน้าแรกเกี่ยวกับเราราคาติิดตั้งแก๊สรถตัวอย่างราคาอุปกรณ์สาระน่ารู้webboardสอบถาม/แผนที่
เจ ออร์โต้แก๊สFacebook

   หน้าแรก   ช่วยเหลือ ค้นหา เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก  
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
หน้า: [1]   ลงล่าง
  ส่งหัวข้อนี้  |  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: หลักการทำงานของระบบปรับจูนแก๊ส S.A.S  (อ่าน 5708 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
J-Autogas
Administrator
Hero Member
*****
กระทู้: 10695



เว็บไซต์
« เมื่อ: มิถุนายน 11, 2012, 08:05:54 pm »

จุดแรกที่เราจะทำความเข้าใจ กันก็คือ    เส้นกราฟ  สองเส้นที่เราเห็น   มีหลักการวาด หรือ  เขียน โดยคำนวน มาจาก  สัญญาณใด


การคำนวน หรือ การวาด คำนวนมาจาก  ค่า  เวลาหัวฉีดน้ำมัน ms.

กับ ค่า แรงดูดของเครื่องยนต์  อ่านค่ามาจาก  map sensor มีหน่วยเป็น kpa  แรงดันบรรยากาศรอบตัวเรา คือ  1 bar ในท่อร่วมไอดีตอนลิ้นเร่งปิดสุด  ต่ำกว่า แรงดันบรรยากาศ   คือ ต่ำ กว่า 1 bar   แต่ ถ้าลิ้นเร่งเปิดสุด  แรงดันในท่อร่วมไอดี  ก็จะเท่ากับ แรงดัน บรรยากาศ  คือ  1 bar  หรือ อาจมีแรงกระเพื่อม ทำให้สูงกว่าได้เล็กน้อย

สองค่า นี้  นำมาพล๊อต เป็นจุด  แล้ว พล๊อตเป็น เส้น  ให้เราเห็น    ถ้าเส้น แดง คือ เส้น น้ำมัน ให้เราเข้าใจ  และสังเกตได้


* น้ำมัน.jpg (54.07 KB, 600x235 - ดู 1137 ครั้ง.)
แจ้งลบกระทู้นี้หรือติดต่อผู้ดูแล   บันทึกการเข้า

line ID: jautogas
J-Autogas
Administrator
Hero Member
*****
กระทู้: 10695



เว็บไซต์
« ตอบ #1 เมื่อ: มิถุนายน 11, 2012, 08:26:46 pm »

เส้นแก๊ส   คือ เส้นที่คำนวนขึ้นมาอย่างไร

เส้นแก๊ส ที่เราเห็น เป็นเส้นสีฟ้า   จริงๆ คือ  เส้นน้ำมันการฉีดน้ำมันเดิมของเครื่องยนต์ ณ. ตอนเป็นแก๊ส

หาก  แก๊ส ที่ฉีดออกไป ที่เราปรับจูนแล้ว  ทำให้  เวลาของ หัวฉีดน้ำมันที่ แรงดูดเดิม มีค่า เวลาการฉีดเท่าเดิม   จุด  การฉีดน้ำมัน  กับ  จุดการฉีดของหัวฉีดน้ำมัน(ตอนเป็นแก๊ส  ก็จะเป็นจุดเดียวกัน ) เส้นที่เห็นปรากฏ  ก็คือ  เส้นจะทับกัน        แบบนี้ เราเรียกว่า จูนดี  จูนเนียนแล้ว  จูนจนเส้นทับกัน   


แต่ ถ้าจุดไหน  เช่น  จุด  A  ตอนเป็น น้ำมัน    กับ  จุด B  จุดการฉีดน้ำมัน(ตอนเป็นแก๊ส) เวลาการฉีดไม่เท่ากัน ที่สภาวะแรงดูเท่ากัน   แสดงว่า ตอนนั้น การจ่ายเพี้ยนไป    ถ้าตาม ภาพที่แสดง  เวลาการฉีดน้ำมัน ตอนเป็นแก๊ส   เวลาอยู่ที่  9 ms.   แต่ ตอนเป็นน้ำมันอยู่ที่  8 ms.  แสดงว่า ตอนนี้ แก๊สที่ฉีดออกไป  น้อยเกินไป ทำให้เวลาการฉีดของ น้ำมันเดิม ต้องปรับตัว ให้ฉีดมากขึ้น       แบบนี้ เราเรียกว่า ยังจูนได้ไม่ดี  คือ   จูนแล้วจ่ายแก๊ส น้อยไป  ทำให้เครื่องยนต์ทำให้เครื่องยนต์ต้อง ปรับตัวเอง ปรับการจ่ายเพิ่มขึ้น กว่าปกติ (ค่า short term เริ่มมีการปรับตัวทางบวก เพิ่มการจ่ายแก๊ส)  จริงๆแก๊สที่ฉีดออกไป ไม่ได้บาง  เพราะ กล่องเครื่องยนต์ไม่ยอมให้บาง  เพราะออกซิเจนจับเจอ ว่า ส่วนผสมน้อยกว่า ปกติ   กล่องน้ำมันรถยนต์ ก็สั่ง ฉีดชดเชยเพิ่มขึ้นให้แล้ว      แต่ ถ้าจะให้ดี ต้องไม่ให้เกิดการชดเชย  จึงจะถือว่า  ปรับจูนดี


* 2.jpg (104.4 KB, 900x355 - ดู 1201 ครั้ง.)
แจ้งลบกระทู้นี้หรือติดต่อผู้ดูแล   บันทึกการเข้า

line ID: jautogas
J-Autogas
Administrator
Hero Member
*****
กระทู้: 10695



เว็บไซต์
« ตอบ #2 เมื่อ: มิถุนายน 11, 2012, 08:42:20 pm »

การ  atoadaptation  คือ การที่โปรแกรม  จำค่าเก่า   ตอนที่เป็น น้ำมันเอาไว้  ว่า  ที่เวลาการฉีด 8ms.  ค่าแรงดูด 70 kpa มีจุดอยู่ที่ตำแหน่ง A

เพราะระบบทำงานด้วยแก๊ส   ที่ ค่าแรงดูดเท่ากัน คือ  70 kpa  มีค่าเวลาการฉีดเปลี่ยนไปเป็น 9 ms.  โปรแกรม  ก็จะพยาม  ปรับเพิ่มการฉีดแก๊สให้ (ขยับเส้นจูน เส้นแกน X ) เพื่อเพิ่มการฉีด  เพิ่มขึ้นไปอีก      เพื่อทำให้ เวลาการฉีดน้ำมัน กลับไปที่ค่า เดิม คือ   8 ms.


* 2.2jpg.jpg (50.12 KB, 800x333 - ดู 1138 ครั้ง.)
แจ้งลบกระทู้นี้หรือติดต่อผู้ดูแล   บันทึกการเข้า

line ID: jautogas
หน้า: [1]   ขึ้นบน
  ส่งหัวข้อนี้  |  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.15 | SMF © 2006-2009, Simple Machines | Thai language by ThaiSMF DK THEME: deruni
Powered by MySQL Powered by PHP Valid XHTML 1.0! Valid CSS!

J AUTOGAS

34/38 ซ.แจ้งวัฒนะ 43 หมู่ที่1 ตำบลคลองเกลือ อำเภอปากเกร็ด จังหวัดนนทบุรี 11120

โทร 02-5744-313  เปิดบริการ จันทร์-เสาร์ 8.00-17.00น.

สายด่วนลูกค้าทางร้าน

โทรได้ตลอดไม่เว้นวันหยุด

phone084